ประวัติโรงเรียน
ประวัติโรงเรียนบัวลาย
1. ข้อมูลทั่วไป
          โรงเรียน บัวลาย ตั้งอยู่เลขที่ 199 หมู่ที่ 5 ตำบลบัวลาย อำเภอบัวลาย  จังหวัดนครราชสีมารหัสไปรษณีย์  30120  E-mail :   -     Website : www. Bualai.ac.th.     สังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา อำเภอ เมือง จังหวัด นครราชสีมา เปิดสอนระดับชั้นมัธยมตอนต้นถึงระดับชั้นมัธยมตอนปลาย จำนวน 13 ห้องเรียน  โรงเรียนมีเนื้อที่ 108 ไร่ 
ประวัติความเป็นมาโรงเรียน (โดยสังเขป)
            โรงเรียนบัวลาย   ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่  199  หมู่ที่ 5 บ้านหนองแสง  อยู่ระหว่างถนนเทศบาล
ตำบลบัวลาย -  บัวใหญ่   ตำบลบัวลาย    อำเภอบัวลาย  จังหวัดนครราชสีมา  สังกัด สำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา  กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  กระทรวงมหาดไทย   เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก  ประเภทสหศึกษา  ตั้งบนเนื้อที่สาธารณประโยชน์  จำนวนทั้งหมด  108  ไร่  เปิดทำการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  ถึงระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6    อยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศเหนือ ถนนมิตรภาพ  สายนครราชสีมา-อุดรธานี   ระยะทางประมาณ  120  กิโลเมตร
            วันศุกร์ที่  21  กุมภาพันธ์  2529  กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งโรงเรียนบัวลายขึ้นโดยนายสัมพันธ์  ทองสมัคร  ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้นเป็นผู้ลงนามในคำสั่งจัดตั้งโรงเรียน    ดังนั้นจึงถือว่าวันที่  21  กุมภาพันธ์  ของทุกปีเป็นวันคล้ายวันก่อตั้งโรงเรียน  โดยการริเริ่มของกรรมการสุขาภิบาลหนองบัวลาย   กรรมการสภาตำบลและชาวบ้านตำบลบัวลาย
             ในการก่อตั้งโรงเรียนครั้งแรกนั้น มีผู้ริเริ่มการก่อตั้ง คือ  ครู – อาจารย์  กรรมการตลาดหนองบัวลาย  กรรมการสภาตำบลบัวลาย  ได้ทำการรณรงค์รับสมัครนักเรียนรุ่นแรกได้จำนวน  67  คน เมื่อวันที่ 7 เมษายน
พ. ศ. 2529  นายนพดล   จิตตวัฒนานนท์    ผู้อำนวยการโรงเรียนบัวใหญ่   ได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบัวลายเป็นคนแรก  และได้มอบหมายให้ครู-อาจารย์ จากโรงเรียนบัวใหญ่  เป็นผู้วางแผนดำเนินงานของโรงเรียนในระยะแรก
              ในการเปิดการสอนของปีแรกได้มี  ครู - อาจารย์      จากโรงเรียนบัวใหญ่   จำนวน  3  คน
มาทำการสอนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1   จำนวน   67   คน   โดยได้อาศัยอาคารเรียนของโรงเรียน
วานิชวิทยาในตลาดหนองบัวลายเป็นอาคารเรียนชั่วคราว ช่วงเดียวกันนี้กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้ง
นายลัดทา   ชนะภัย  ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนโนนไทยคุรุอุปถัมภ์ดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบัวลาย
เมื่อครู - อาจารย์  โรงเรียนบัวใหญ่ได้กลับไปทำการที่เดิมแล้ว  โรงเรียนได้รับความร่วมมือจากโรงเรียนชุมชนหนองบัวลายจัดครู-อาจารย์ มาช่วยสอน 3 คน จนกระทั่งครู- อาจารย์ รุ่นแรกของโรงเรียนได้มาปฏิบัติหน้าที่
            เดือนกรกฎาคม  พ. ศ.  2529  ได้มีการวางแผนผังการก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราว และทำพิธียกเสาเอกในเดือนเดียวกันมีนายอำเภอบัวใหญ่เป็นประธาน  ณ  พื้นที่สาธารณประโยชน์ของตำบลบัวลายซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนบัวลายในปัจจุบัน  และเดือนมีนาคม   พ. ศ.  2533  เริ่มงานก่อสร้างอาคารเรียน  108  ล   พร้อมทั้งขยายเขตไฟฟ้าเข้าในพื้นที่ของโรงเรียน
            ลักษณะของชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่  มีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธประกอบอาชีพเกษตรกรรม  สภาพเศรษฐกิจค่อนข้างยากจน  รายได้ของประชากรต่อหัวประมาณ   20,000   บาทต่อปี   ประชาชนยังให้ความสำคัญทางการศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง เนื่องจากส่วนใหญ่อยู่ห่างจากโรงเรียน  และต้องอพยพไปทำงานหลังฤดูการเก็บเกี่ยวผลผลิต แต่ชุมชนมีความสัมพันธ์กับสถานศึกษาค่อนข้างดี  และมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสถานศึกษาตามสมควร
            ปัจจุบันมีนางจุลจิฬา  กลิ่นสุมาลย์   ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนบัวลาย  มีครูและบุคลากรทางการศึกษา  ทั้งสิ้น  22  คน  พนักงานจ้างตามภารกิจ  2  คน  พนักงานจ้างทั่วไป  2  คน  (แผนสี่ปี) และมีนักเรียนทั้งสิ้นจำนวน  324  คน 
 

  โรงเรียนบัวลาย สัญลักษณ์ รูปดอกบัว วิสัยทัศน์ของโรงเรียนภายในปี 2566 “โรงเรียนบัวลาย จัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีคุณภาพ โดยการจัดการสิ่งแวดล้อมร่วมกับชุมชน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
อัตลักษณ์ของโรงเรียน “ ยิ้ม ไหว้ ทักทาย สวัสดี”
            การยิ้มมีความหมายต่อชีวิตของตนเองและผู้อื่นและที่สำคัญคือ สร้างความสุขทั้งผู้ให้และผู้รับ การยิ้มการหัวเราะร่างกายจะผลิตฮอร์โมน “ ความสุข” ชื่อเอนเดอร์ฟิน สามารถเป็นอาวุธร้ายที่จะต่อสู้กับความกลัว ความเครียด และสามารถหยุดมันก่อนที่จะเข้าสู่ภาวะอันตรายได้ คนที่สามารถมองเห็นด้านที่สดใสของชีวิตและมองโลกในแง่ดี ไม่มีทางจะเจ็บป่วยเพราะความเครียดได้แน่ คนที่จงใจยิ้มทุกครั้งที่มีโอกาส ก็คือคนที่รู้จักช่วยตนเอง รู้สึกผ่อนคลาย การยิ้มและการหัวเราะแสดงให้เห็นบุคลิกเอื้อเฟื้อและอบอุ่น
            การไหว้ เป็นมารยาทไทยที่สืบทอดกันมาช้านาน การไหว้ เป็นการแสดงถึงการมีสัมมาคารวะ และการให้เกียรติซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความหมายเพื่อการทักทาย การขอบคุณ การขอโทษหรือการกล่าวลา
           สวัสดี มีความหมายว่า ความดี ความงาม ความเจริญรุ่งเรือง ความปลอดภัย